messager
apps โครงสร้างหน่วยงาน
เกี่ยวกับเรา
ประวัติเทศบาลตำบลโพนแพง เดิมตำบลโพนแพงอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนครนั้นมาจากเมืองหลวงพระบางประเทศลาวย้ายมาตั้งถิ่นฐานที่เมืองท่าอุเทนก่อนต่อมาย้ายมาอยู่บ้านข่าและเดินทางมาพบกับลำน้ำยามและหนองใหญ่จึงย้ายมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนใกล้กับหนองน้ำปลูกบ้านเรือนใกล้บริเวณโพนต้นแพงซึ่งเป็นที่ดอนน้ำท่วมไม่ถึงจึงตั้งชื่อว่าตำบลโพนแพงโดยการนำของนายพรานและตั้งนายพรานตนหนึ่งขึ้นเป็นผู้ใหญ่บ้านและได้รับการยกฐานนะขึ้นเป็นตำบลซึ่งนายเขียวเป็นกำนันคนแรกของตำบลโพนแพงในตอนนั้นตำบลโพยแพงขึ้นอยู่กับตำบลละครจังหวัดนครพนมเมื่อปีพ.ศ. 2460 แยกมาขึ้นกับจังหวัดสกลนครโดยมีขุนอำไพโพนแพงเป็นกำนันตำบลโพนแพงได้จัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลโพนแพงตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่วันที่ 30 มีนาคมพ.ศ. 2539 และต่อมาได้ เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลโพนแพงเมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2555 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ประกอบมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งเทศบาลตำบลโพนแพงอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนครเป็นเทศบาลตำบลโพนแพงเทศบาลตำบลโพนแพงเป็นตำบลหนึ่งของอำเภออากาศอำนวยเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลโพนแพงเมื่อ วันที่ 24 สิงหาคม 2555 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสภาตำบลและเทศบาลตำบล (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2546 ประกอบมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเทศบาลพ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงจัดตั้งเทศบาลตำบลโพนแพงอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนครเป็นเทศบาลตำบลโพนแพงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนห่างจากอำเภออากาศอำนวย ประมาณ 3 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดสกลนคร 54 กิโลเมตรห่างจากกรุงเทพมหานคร 654 กิโลเมตรสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 172 เมตรมีพื้นที่ประมาณ 69 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่จำนวน12 หมู่บ้าน ลักษณะที่ตั้ง เทศบาลตำบลโพนแพงตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนห่างจากอำเภออากาศอำนวย ประมาณ 3 กิโลเมตรห่างจากจังหวัดสกลนคร 54 กิโลเมตรห่างจากกรุงเทพมหานคร 654 กิโลเมตรสูงจากระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ยประมาณ 172 เมตรมีพื้นที่ประมาณ 69 ตารางกิโลเมตรครอบคลุมพื้นที่จำนวน 12 หมู่บ้าน อาณาเขต - ด้านทิศเหนือจดตำบลอากาศอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร - ด้านทิศตะวันออกจดตำบลอากาศอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร - ด้านทิศใต้จดตำบลบะหว้าอำเภออากาศอำนวยจังหวัดสกลนคร - ด้านทิศตะวันตกจดตำบลหนองสนมอำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร เนื้อที่ ตำบลโพนแพงมีเนื้อที่ทั้งหมด 69 ตารางกิโลเมตรสภาพเนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงดินส่วนใหญ่มีปัญหาคือดินขาดความอุดมสมบูรณ์ดินมีสภาพเป็นดินทรายและดินลูกรังสภาพภูมิประเทศสภาพภูมิประเทศตำบลโพนแพงมีพื้นที่ป่าไม้สมบูรณ์ขนาด 194 ไร่และเป็นลำห้วย 13 สาย และลำน้ำยาม 1 สาย เหมาะสำหรับทำการเกษตร
แผนภูมิโครงสร้างการบริหารงาน







ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วิสัยทัศน์ ของเทศบาลตำบลโพนแพง “บ้านเมืองน่าอยู่ ควบคู่คุณธรรม ก้าวนำการศึกษา ประชาอยู่ดีกินดี” ยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนา ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ และ 19 กลยุทธ์ ดังนี้ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนากระบวนการผลิตสินค้าเกษตรให้ปลอดภัยและได้มาตรฐาน กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาเกษตรกรและองค์กรให้มีความเข้มแข็ง กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาเพิ่มมูลค่าสินค้าเพื่อสร้างความเข้มแข็งด้านการตลาดสินค้าเกษตร และเชื่อมโยงเครือข่าย กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาจัดหาและพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาส่งเสริมและสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น สู่เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและส่งเสริมอาชีพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อสร้างศักยภาพในการแข่งขัน กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาส่งเสริมให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาจัดระบบการศึกษาให้ทั่วถึง กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการให้บริการสุขภาพอย่างทั่วถึง ยุทธศาสตร์ที 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และพลังงานแบบบูรณาการ อย่างสมดุลและยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุนสร้างจิตสำนึกและความตระหนัก การจัดการการอนุรักษ์และ ฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมสนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี กลยุทธ์ที่ 3 การสาธิตและส่งเสริมด้านพลังงาน และพลังงานทดแทน ยุทธศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาลและความมั่นคง กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน กลยุทธ์ที่ 2 พัฒนาป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รักษาความสงบเรียบร้อย กลยุทธ์ที่ 3 พัฒนาองค์กรและบุคลากร กลยุทธ์ที่ 4 พัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาการเมืองการปกครอง กลยุทธ์ที่ 5 กำหนดหลักสูตรการศึกษาเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข ในสถานศึกษาและประชาชนทั่วไป กลยุทธ์ที่ 6 เสริมสร้างความรู้รักสามัคคี และเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ